เมนู

ตีณิปทุมยเถราปทานที่ 10 (80)


ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุม 3 ดอก


[82] ในกาลนั้น พระชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้
ธรรมทั้งปวง ทรงฝึกพระองค์เองแล้ว ทรงแวดล้อมด้วยพระ-
สาวกผู้ฝึกตนแล้ว เสด็จออกจากนคร.

เวลานั้น เราเป็นช่างดอกไม้ อยู่ในพระนครหังสวดี เรา
ถือดอกปทุม 3 ดอกอย่างดีเลิศ (จะไป) ในพระนครนั้น ได้
พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี เสด็จดำเนินอยู่ในละแวก
ตลาด พร้อมกับได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า เราได้คิดอย่างนี้ใน
กาลนั้นว่า

จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยดอกไม้เหล่านี้ ที่เราบำรุง
พระราชา เราจะพึงได้บ้านหรือคามเขตหรือทรัพย์พันหนึ่ง
(เท่านั้น) เราบูชาพระพุทธเจ้าผู้ฝึกคนที่มิได้ฝึกตน ผู้แกล้ว
กล้า ทรงนำสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งปวง เป็นนาถะของโลกแล้ว
จักได้ทรัพย์อันไม่ตาย.

ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว จึงยังจิตของตนให้เลื่อมใส แล้ว
จับดอกปทุม 3 ดอกโยนขึ้นไปบนอากาศ ในกาลนั้น พอ
เราโยนขึ้นไป ดอกปทุมเหล่านั้นก็แผ่ (บาน) อยู่ในอากาศ
มีขั้วขึ้นข้างบน ดอกลงข้างล่าง ลอยอยู่เหนือพระเศียรใน
อากาศ.

มนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเห็นแล้วพากันโห่ร้องเกรียวกราว
ทวยเทพเจ้าในอากาศพากันซ้องสาธุการว่า ความอัศจรรย์

เกิดขึ้นแล้วในโลก เราทั้งหลายจักนำดอกไม้มาบูชาพระ-
พุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราทั้งหมดจักฟังธรรม จักนำดอกไม้
มาบูชา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก
ทรงสมควรรับเครื่องบูชา ประทับยืนอยู่ที่ถนนนั่นเอง ได้ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า มาณพใดได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกบัว
แดง เราจักพยากรณ์มาณพนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.

มาณพนั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัปและ
จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ 30 ครั้ง จักมีวิมาน
ชื่อว่ามหาริตถาริกะในเทวโลกนั้น สูง 300 โยชน์ กว้าง 150
โยชน์ พวงดอกไม้ 400,000 พวงที่เทวดานิรมิตอย่างสวย
งานห้อยอยู่ที่ปราสาทอันประเสริฐ และประดับที่ที่นอนใหญ่.

นางอัปสรแสนโกฏิ มีรูปอุดม ฉลาดในการฟ้อน การ
ขับรำและการประโคม จักแวดล้อมอยู่โดยรอบ.

ในกาลนั้น ฝนดอกไม้ทิพย์มีสีแดง จักตกลงในวินาน
ประเสริฐ อันเกลื่อนกล่นด้วยหมู่เทพนารีเช่นนี้ แก้วปัทม-
ราคโตประมาณเท่าจักร จักห้อยอยู่ที่ตะปูฝาไม้พ้นนาค ที่
บานประตู และที่เสาระเนียด ที่วิมานนั้น.

นางเทพอัปสรทั้งหลายจักลาด จักห่มด้วยใบบัว นอนอยู่
ภายในวิมานอันประเสริฐที่ดาดาษด้วยใบบัว ดอกบัวแดงล้วน
เหล่านั้น แวดล้อมภพ ส่งกลิ่นหอมตลบไปประมาณร้อย
โยชน์โดยรอบ.

มาณพนี้จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 75 ครั้ง จักได้เป็น
พระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ ได้เสวย
สมบัติทั้งสองแล้ว หากังวลมิได้ ไม่มีอันตราย เมื่อกาลเป็น
ที่สุดมาถึงแล้ว จักได้บรรลุนิพพาน.

พระพุทธเจ้าเราได้เห็นดีแล้วหนอ การค้าเราประกอบแล้ว
เราบูชา (พระพุทธเจ้าด้วย) ดอกบัว 3 ดอกแล้ว ได้เสวย
สมบัติ 3.

ดอกบัวแดงอันบานงาม จักทรงไว้บนกระหม่อมของเรา
ผู้บรรลุธรรม พ้นวิเศษแล้วโดยประการทั้งปวงในวันนี้.

เมื่อพระปทุมุตตระบรมศาสดาตรัสกรรมของเราอยู่ ธรรมา-
ภิสมัยได้มีแก่สัตว์หลายแสน ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ เรา
ได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติ
เลย นี้เป็นผลแห่ง (การบูชาด้วย) ดอกบัว 3 ดอก เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นแล้ว อาสวะทั้งหมด
สิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระตีณิปทุมิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบตีณิปทุมิยเถราปทาน

80. อรรถกถาติปทุมิยเถราปทาน

1

อปทานของท่านพระติปทุมิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม
ชิโน
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูลของ
นายมาลาการ ในหังสวดีนคร เจริญวัยแล้ว กระทำกรรมแห่งนายมาลาการ
อยู่ วันหนึ่ง ถือเอาดอกไม้ที่เกิดในน้ำและเกิดบนบกมากมาย ประสงค์
จะเฝ้าพระราชา คิดอย่างนี้ว่า พระราชาเห็นดอกไม้นี้ก่อนแล้วเลื่อมใส
พึงประทานทรัพย์พันหนึ่งหรือบ้านเป็นต้น ส่วนเราเห็นพระโลกนาถ
ย่อมได้ทรัพย์คืออมตนิพพาน อะไรจะเป็นความดีในทรัพย์เหล่านั้นของเรา
เพราะเหตุนั้น จึงคิดว่า การที่เราบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยังสวรรค์-
สมบัติและนิพพานสมบัติให้สำเร็จ ย่อมควรดังนี้แล้ว จึงถือเอาดอกไม้
แดง 3 ดอกอันมีสีดียิ่งบูชาแล้ว. ดอกไม้เหล่านั้นลอยไป กั้นลาดบน
อากาศได้ตั้งอยู่แล้ว. ชาวพระนครเกิดอัศจรรย์จิตซึ่งไม่เคยมี ซัดแผ่นผ้า
1,000 ผืนให้เป็นไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นดังนั้น จึงได้ทรงกระทำ
อนุโมทนา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้ว เกิด
โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตโร
นาม ชิโน
ดังนี้. ความแห่งคำนั้น ท่านได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.
บทว่า สพฺพธมฺมาน ปารคู ความว่า ท่านถึงฝั่งแห่งโลกุตรธรรม 9
1. บาลี ตีณิปทุมิยเถระ.